เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา2/2557 หน่วย : "ผักจ๋า....น่าชิม"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
นักเรียนเข้าใจความสำคัญและเห็นคุณค่าความสัมพันธ์ของพืช ผัก ผลไม้ ที่มีต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น อีกทั้งยังสามารถเลือกบริโภค ผัก ผลไม้ ได้อย่างปลอดภัยในการใช้ชีวิตประจำวัน ตลอดจนมีจิตสำนึกที่ดี และอนุรักษ์ธรรมชาติได้

week3

เป้าหมายรายสัปดาห์  : นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับลักษณะโครงสร้างหน้าที่ส่วนประกอบของพืชผักต่างๆ อีกทั้งสามารถบอกความเหมือน/ความแตกต่างได้

Week

Input

Process

Output

Outcome
3
17-21 .. 57
โจทย์ :
โครงสร้าง/หน้าที่
Key  Questions
 - ผักแต่ละชนิดมีรูปร่างลักษณะเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?
- นักเรียนคิดว่าส่วนประกอบ เช่น ดอก ใบ ลำต้น ราก มีหน้าที่เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?
เครื่องมือคิด
Brainstorms :
ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะโครงสร้าง/หน้าที่และส่วนประกอบของพืชผักชนิดต่างๆ
Think  Pair Share : ลักษณะโครงสร้าง/หน้าที่และส่วนประกอบของพืชผักชนิดต่างๆ
Wall  Thinking : เขียนส่วนประกอบของพืชผักต่างๆ
Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศรอบบริเวณโรงเรียน
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- เพลง “กินผัก”
- ผักชนิดต่างๆ เช่น ผักบุ้ง ต้นหอม
ขึ้นฉ่าย มะเขือ โหรพา
- นิทาน เรื่อง “ต้นน้อยอยากเป็น”
- นิทาน เรื่อง “พริกขี้หนูร้องไห้”
- อุปกรณ์การทดลอง เช่น แก้วน้ำ ผักกาด สีผสมอาหาร น้ำ
วันจันทร์
ชง
- ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูเล่านิทานเรื่อง  ต้นน้อยอยากเป็นเพื่อเชื่อมโยงเกี่ยวกับลักษณะโครงสร้างและส่วนประกอบของผัก
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม นักเรียนสังเกตเห็นอะไรและรู้สึกอย่างไร?” “นักเรียนคิดว่าผักแต่ละชนิดมีลักษณะเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?
เชื่อม
ครูและนักเรียนช่วยกันระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะโครงสร้างและส่วนประกอบของผัก
ใช้
นักเรียนทำใบงานเขียนส่วนประกอบของพืชผักต่างๆ
วันอังคาร
 ชง
- ครูและนักเรียนร่วมกันร้องเพลง กินผัก
- ครูนำต้นพืชผักต่างๆ เช่น ผักบุ้ง หอม ขึ้นฉ่าย มะเขือ โหรพา ฯลฯ มาให้นักเรียนสังเกต
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม
“นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง รู้สึกอย่างไร?” “นักเรียนคิดว่าวนประกอบ เช่น ดอก ใบ ลำต้น ราก มีหน้าที่เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?
เชื่อม
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
ใช้
นักเรียนประดิษฐ์พวงกุญแจจากลูกฝาง
วันพุธ
ชง
- ครูเล่านิทานเรื่อง “พริกขี้หนูร้องไห้”  
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนคิดว่าลำต้นของผักเหมือนกับอวัยวะส่วนใดของคน?
เชื่อม
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยว
กับสิ่งที่ได้ฟังจากนิทาน
วันพฤหัสบดี  
ชง
- ครูนำอุปกรณ์ที่เตรียมไว้ดังนี้ แก้วน้ำ ผักกาด สีผสมอาหาร น้ำ มาให้นักเรียนสังเกต
- ครูและนักเรียนร่วมกันทดลอง “ผักกาดเปลี่ยน
สี” เพื่อเชื่อมโยงสู่การทำงานของราก
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนสังเกตเห็นอะไร?
“ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น เพราะอะไร?
เชื่อม
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยว
กับกิจกรรมที่ได้ทำ
ใช้
นักเรียนร่วมกันทดลองผักกาดเปลี่ยนสีเป็นกลุ่ม
วันศุกร์
ชง
- ครูพานักเรียนเดินสำรวจผักชนิดต่างๆรอบบริเวณโรงเรียน
- ครูให้นักเรียนได้ชิมผักต่างๆ เช่น พริก กะหล่ำดอก ผักกาด ฯลฯ
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม นักเรียนสังเกตเห็นอะไรและรู้สึกอย่างไร?”
เชื่อม
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ทำ
ใช้
นักเรียนปั้นดินน้ำมันสวนผักผลไม้

ชิ้นงาน
- ใบงานเขียนส่วนประกอบของพืชผักต่างๆ
- ประดิษฐ์พวงกุญแจจากลูกฝาง
- ปั้นดินน้ำมันสวนผักผลไม้
ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยว กับกิจกรรมที่ได้ทำ
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะโครงสร้าง/หน้าที่และส่วนประกอบของผัก
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทดลองผักกาดเปลี่ยนสี




ความรู้ :
เข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับลักษณะโครงสร้าง/หน้าที่และส่วนประกอบของพืชผักต่างๆ อีกทั้งสามารถบอกความเหมือน/ความแตกต่างได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- การเลือกใช้เครื่องมือในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด
 - การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทดลองและการฟังนิทาน รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-  การคิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม
- การคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครู
ผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
-   - ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน


ภาพตัวอย่างกิจกรรม















ภาพตัวอย่างชิ้นงาน

















1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์ที่ 3 เด็กๆได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องโครงสร้าง/หน้าที่ และส่วนประกอบต่างๆ ของผัก โดยที่คุณครูให้เด็กสังเกตจากของจริง และครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าโครงสร้างของผักประกอบด้วยอะไรบ้าง? ” เด็กๆทุกคนสามารถตอบและให้เหตุผลตามความเข้าใจของตนเองได้เป็นอย่างดี อย่างเช่น
    น้องแก้ม : ต้นไม้ต้องมีราก เพราะจะได้กินอาหารค่ะ
    น้องชิน : มีใบ เพราะว่าจะได้เอาไว้พัดให้เย็นครับ
    น้องต้นกล้า : มะเขือเทศมีผลสีแดง เพราะว่าเราจะได้กินครับ
    วันต่อมาคุณครูพาเด็กๆ เดินสำรวจผักในบริเวณโรงเรียน อีกทั้งชิมรสชาติของผักต่างๆ เช่น ผักบุ้ง ผักกาด โหระพา ถั่วพู พริก ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าโครงสร้าง/หน้าที่ของผักกับคนเหมือนหรือต่างกันอย่างไร”
    น้องนโม : รากของผักเหมือนปากคนทำหน้าที่กินอาหารครับ
    น้องแก้ม : มือของคนเหมือนใบ เพราะใบของผักเอาไว้พัดได้ค่ะ
    น้องฟอร์อด : ลำต้นของต้นไม้เหมือนขาของคน เพราะขอของคนตรงและแข็งแรงครับ
    น้องมินทร์ : หัวของคนเหมือนยอดของต้นไม้ เพราะว่าอยู่บนสุดค่ะ
    ตลอดทั้งสัปดาห์เด็กๆ ได้ทำชิ้นงานเขียน web โครงสร้างของต้นไม้ ประดิษฐ์พวงกุญแจจากลูกฝาง ทดลองการดูดซึมของรากน้อย จากผักกาดและดอกไม้ ทุกคนสนใจและตื่นเต้นกับการการทำกิจกรรม ต่างชื่นชมผลงานของตนเองและให้กำลังใจเพื่อนๆ ได้อย่างเป็นอย่างดีค่ะ

    ตอบลบ