เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา2/2557 หน่วย : "ผักจ๋า....น่าชิม"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
นักเรียนเข้าใจความสำคัญและเห็นคุณค่าความสัมพันธ์ของพืช ผัก ผลไม้ ที่มีต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น อีกทั้งยังสามารถเลือกบริโภค ผัก ผลไม้ ได้อย่างปลอดภัยในการใช้ชีวิตประจำวัน ตลอดจนมีจิตสำนึกที่ดี และอนุรักษ์ธรรมชาติได้

วันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Mind Mapping (เนื้อหา/ครู)


แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการ PBL ( Problem Based   Learning )
หน่วย  “ผักจ๋า....น่าชิม ” ระดับชั้นอนุบาล 1 ภาคเรียนที่ 2 (Quarter 3) ปีการศึกษา 2557

หน่วย :  ผักจ๋า......น่าชิม

Big Question (คำถามหลัก) : พืช ผัก ผลไม้ต่างๆมีความสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆอย่างไร?

ภูมิหลังของปัญหา : ผักและผลไม้ เป็นอาหารที่อุดมด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยในเรื่อง  ระบบ ขับถ่าย ทำให้ผิวพรรณสดใส มีสุขภาพแข็งแรง ช่วยสร้างภูมิต้านทานและป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ  แต่ในปัจจุบันผักและผลไม้กลับมีความปลอดภัยน้อยลง เนื่องจากมีการใช้สารเคมีกำจัดแมลงและศัตรูพืชในการะบวนการเพาะปลูก ซึ่งก่อให้เกิดสารพิษตกค้างในผักและผลไม้ ส่งผลให้ผู้บริโภคได้รับสารพิษที่ตกค้าง เกิดการสะสมในร่างกายและเกิดปัญหาต่อสุขภาพ เนื่องจากสารเคมีบางตัวแม้จะได้รับปริมาณน้อย  แต่หากได้รับอยู่เป็นประจำและติดต่อกันเป็นเวลานานก็จะทำให้เกิดการเจ็บป่วย แต่หากได้รับในปริมาณมากอาจเกิดอาการพิษเฉียบพลัน เช่น ปวดศีรษะ วิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย เป็นต้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ถึงคุณค่าของผักและผลไม้ รวมทั้งเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัยและสามารถเป็นผู้ผลิตเองได้



ปฏิทินการเรียนจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการ PBL (Problem Based   Learning)
หน่วย : ผักจ๋าน่าชิม
ระดับชั้นอนุบาล 1  (Quarter 3) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557


week
Input
Process
Output
Outcome
1
3 - 7 .. 57
โจทย์ :
- สร้างแรงบัลดาลใจ
 -สร้างฉันทะในการเรียนรู้
Key  Questions
- นักเรียนเห็นอะไร และได้เรียนรู้อะไรจากการเดินสำรวจ ?
- นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไร ? ทำไมถึงอยากเรียนรู้เรื่องนี้ ?
เครื่องมือคิด
Brainstorms :
- ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดูและฟัง
- ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่อยากเรียนรู้
Card & Chart : เรื่องที่ต้องการเรียนรู้
Blackboard  Share : ชื่อ หน่วย
Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- บรรยากาศรอบบริเวณโรงเรียน
- คลิปวีดีโอ เมืองอาหารดี
- นิทาน เรื่อง ผักเสี้ยนวิเศษ
- เพลง ผัก ผลไม้
- ครูพานักเรียนเดินสำรวจพืชผักและสิ่งมีชีวิตรอบบริเวณโรงเรียน
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนเห็นอะไร และได้เรียนรู้อะไรจากการเดินสำรวจ?
- ครูและนักเรียนร่วมกันร้องเพลง ผัก ผลไม้
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม นักเรียนรู้จักพืชผักผลไม้ชนิดใดบ้าง?
ครูให้นักเรียนดูคลิปวีดีโอการ์ตูน เรื่อง “เมืองอาหารดี
ครูกระตุ้นด้วยคำถาม นักเรียนเห็นอะไรบ้าง รู้สึกอย่างไร?” “ถ้าเป็นเราจะทำอย่างไร?
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไร”  “ทำไมถึงอยากเรียนรู้เรื่องนั้น
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าชื่อ หน่วย ที่น่าสนใจควรเป็นอย่างไร?”
ชิ้นงาน
- Card & Chart วาดภาพสิ่งที่อยากเรียนรู้
- ปั้นดินน้ำมันผักผลไม้
ภาระงาน
- พูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยว กับการดู คลิปวีดีโอการ์ตูน เรื่อง เมืองอาหารดี
ความรู้ :
แสดงความคิดเห็น และอธิบายสิ่งที่ตนเองรู้และต้องการรู้โดยให้เหตุผล  เพื่อสร้างความเข้าใจของตนเองได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- การเลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด
 - การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดูคลิป วีดีโอ รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
สามารถอธิบายให้เหตุผลเกี่ยวกับสิ่งที่ตนอยากเรียนรู้
- การคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครู ผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
   - มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
 - ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
2
10-14 .. 57
โจทย์ :
 สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้ในหน่วย ผักจ๋า...น่าชิม
Key  Questions
นักเรียนรู้อะไรและอยากเรียนรู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับผัก ผลไม้?
เครื่องมือคิด
Brainstorms :
ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดูและฟัง
ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่อยากเรียนรู้
Think  Pair Share สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากรู้
Black board Share :สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากรู้
Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- นิทาน เรื่อง “ผักเสี้ยนวิเศษ
- ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูเล่านิทาน เรื่อง ผักเสี้ยนวิเศษ
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม นักเรียนเห็นอะไรบ้าง รู้สึกอย่างไร
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนรู้เรื่องอะไรบ้างเกี่ยวกับผัก ผลไม้?”
- ครูเล่านิทาน เรื่อง แป้งร่ำทำสวน
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม นักเรียนเห็นอะไร?” “ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?
- ครูและนักเรียนร่วมกันร้องเพลง ผัก ผลไม้
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม ตลอดทั้งสัปดาห์นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?
ชิ้นงาน
- ใบงานพิมพ์ลายใบไม้
- ปลูกตะไคร้ในน้ำ
- ปั้นดินน้ำมันผักผลไม้ที่ชอบ
ภาระงาน
- พูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองรู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนิทานที่ได้ฟัง
ความรู้ :
สามารถแสดงความคิดเห็น และอธิบายสิ่งที่ตนเองรู้และต้องการรู้โดยให้เหตุผล เพื่อสร้างความเข้าใจของตนเองได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
การเลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด
 - การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดูคลิป วีดีโอ รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
สามารถอธิบายให้เหตุผลเกี่ยวกับสิ่งที่ตนอยากเรียนรู้
การคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครู
ผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
3
17-21 .. 57
โจทย์ :
โครงสร้าง/หน้าที่
Key  Questions
 - ผักแต่ละชนิดมีรูปร่างลักษณะเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?
- นักเรียนคิดว่าส่วนประกอบ เช่น ดอก ใบ ลำต้น ราก มีหน้าที่เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?
เครื่องมือคิด
Brainstorms :
ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะโครงสร้าง/หน้าที่และส่วนประกอบของพืชผักชนิดต่างๆ
Think  Pair Share : 
ลักษณะโครงสร้าง/หน้าที่และส่วนประกอบของพืชผักชนิดต่างๆ
Wall  Thinking : เขียนส่วนประกอบของพืชผักต่างๆ
Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศรอบบริเวณโรงเรียน
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- เพลง กินผัก
- ผักชนิดต่างๆ เช่น ผักบุ้ง ต้นหอมขึ้นฉ่าย มะเขือ โหรพา
- นิทาน เรื่อง ต้นน้อยอยากเป็น
- นิทาน เรื่อง พริกขี้หนูร้องให้
- อุปกรณ์การทดลอง เช่น แก้วน้ำ ผักกาด สีผสมอาหาร น้ำ 
- ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูเล่านิทานเรื่อง  ต้นน้อยอยากเป็นเพื่อเชื่อมโยงเกี่ยวกับลักษณะโครงสร้างและส่วนประกอบของผัก
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรและรู้สึกอย่างไร” ? นักเรียนคิดว่าผักแต่ละชนิดมีลักษณะเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?
- ครูและนักเรียนร่วมกันร้องเพลง กินผัก
- ครูนำต้นพืชผักต่างๆ เช่น ผักบุ้ง หอมขึ้นฉ่ายมะเขือ โหรพา ฯลฯ มาให้นักเรียนสังเกต
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม
นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง รู้สึกอย่างไร?” “นักเรียนคิดว่าส่วนประกอบ เช่น ดอก ใบ ลำต้น ราก มีหน้าที่เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?
- ครูเล่านิทานเรื่อง พริกขี้หนูร้องให้”  
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม ““นักเรียนคิดว่าลำต้นของผักเหมือนกับอวัยวะส่วนใดของคน?”
- ครูนำอุปกรณ์ที่เตรียมไว้ดังนี้ แก้วน้ำ ผักกาด สีผสมอาหาร น้ำ มาให้นักเรียนสังเกต
- ครูและนักเรียนร่วมกันทดลอง ผักกาดเปลี่ยนสี เพื่อเชื่อมโยงสู่การทำงานของราก
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม นักเรียนสังเกตเห็นอะไร?” “ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น เพราะอะไร?
- ครูพานักเรียนเดินสำรวจผักชนิดต่างๆรอบบริเวณโรงเรียน
- ครูให้นักเรียนได้ชิมผักต่างๆ เช่น พริก กะหล่ำดอก ผักกาด ฯลฯ
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม นักเรียนสังเกตเห็นอะไรและรู้สึกอย่างไร?”
ชิ้นงาน
- ใบงานเขียนส่วนประกอบของพืชผักต่างๆ
- ประดิษฐ์พวงกุญแจจากลูกฝาง
- ปั้นดินน้ำมันสวนผักผลไม้
ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยว กับกิจกรรมที่ได้ทำ
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะโครงสร้าง/หน้าที่และส่วนประกอบของผัก
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทดลองผักกาดเปลี่ยนสี
ความรู้ :
เข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับลักษณะโครงสร้าง/หน้าที่และส่วนประกอบของพืชผักต่างๆ อีกทั้งสามารถบอกความเหมือน/ความแตกต่างได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- การเลือกใช้เครื่องมือในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด
 - การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทดลองและการฟังนิทาน รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
การคิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม
- การคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครูผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
4

24-28..57
โจทย์ :
ประเภท/สายพันธ์
- สี
- รสชาด
- กลิ่น
Key  Questions
- ทำไมผักแต่ละชนิดถึงมีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน?
- ทำไมผักแต่ละชนิดมีสี กลิ่น รสชาดที่เหมือนหรือแตกต่างกัน?
เครื่องมือคิด
Brainstorms :
ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเภทและสายพันธ์ต่างๆของผักชนิดต่างๆ
Think  Pair Share สี รสชาติ กลิ่นของผักที่เหมือนหรือแตกต่างกัน
 Blackboard Share :ชื่อ /สีของผักชนิดต่างๆ
 Wall  Thinking : ใบงานวาดภาพผักผลไม้และเขียนชื่อเป็นภาษาอังกฤษ
Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- ภาพโปสเตอร์พืชผักผลไม้
- ละคร เรื่อง แม่ค้าจ๋า
- นิทานเรื่อง ใบเขียวใบพรุน
- ผักผลไม้ เช่น มะละกอ ข้าวโพด แอปเปิ้ล ถั่วฝักยาว ฯลฯ
- ครูทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูร่วมกันเล่นละครเรื่อง แม่ค้าจ๋า
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม นักเรียนสังเกตเห็นอะไร รู้สึกอย่างไร?
- ครูนำภาพโปสเตอร์คำศัพท์ผักผลไม้ต่างๆมาให้นักเรียนดู
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม นักเรียนสังเกตเห็นอะไร”? “ทำไมผักแต่ละชนิดถึงมีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน”?
- ครูและนักเรียนร่วมกันเล่นเกม เอ๊ะใครเอ่ย?” โดยครูจัดเตรีมผักผลไม้ของจริง เช่น มะละกอ ข้าวโพด แอบเปิ้ล ถั่วฝักยาว ฯลฯ
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม นักเรียนสังเกตเห็นอะไรและรู้สึกอย่างไร?” “เราจะมีวิธีการแยกผักผลไม้ได้อย่างไร?”
- ครูให้นักเรียนชิมรสชาดของผักชนิดต่างๆ เช่น สาระแหน่ ถั่วฝักยาว มะเขือเทศ ฟักทองฯลฯ
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม นักเรียนสังเกตเห็นอะไร” “นักเรียนคิดว่าผักแต่ละชนิดมีรสชาด  เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?”
- ครูนำผักชนิดต่างๆมาให้นักเรียนสังเกตและ ดมกลิ่นพร้อมสัมผัสผิว
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม นักเรียนสังเกตเห็นอะไร และรู้สึกอย่างไร?ทำไมผักแต่ละชนิดถึงมีกลิ่นที่เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?
- ครูเล่านิทานเรื่อง ใบเขียวใบพรุนเพื่อให้
นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับสีของผักชนิดต่างๆ
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม ทำไมผักแต่ละชนิดถึงมีสีที่แตกต่างกัน?”

ชิ้นงาน
-ใบงานวาดภาพผักผลไม้และเขียนชื่อไทยและภาษาอังกฤษ
- ปั้นดินน้ำมันเป็นสวนผักชนิดต่างๆ
- แยกผักผลไม้ชนิดต่าง
ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยว กับกิจกรรมที่ได้ทำ
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ ประเภทและสายพันธ์ของผักเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดูจากละครและเกม
ความรู้ :
เข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับประเภทและสายพันธ์ของผักชนิดต่างๆ และนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะ :
 ทักษะชีวิต
- การเลือกใช้เครื่องมือในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- สามารถปฏิบัติกิจกวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด
 - การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดูภาพยนตร์และคลิป รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
การคิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม
- การคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการสังเกต
การสังเกตความเหมือนความแตกต่างสิ่งต่างๆโดยรวมทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้
อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครู
ผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
-   - ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
5

1 – 5 .. 57
โจทย์ :
การเจริญเติบโต/การขยายพันธุ์
- เมล็ด
- หัว
- แยกหน่อ
ฯลฯ
Key  Questions
- นักเรียนคิดว่าพืชมีการเจริญเติบโตได้อย่างไร?
- เราจะมีวิธีการขยายพันธุ์พืชผักต่างๆด้วยวิธีใดบ้าง?
- นักเรียนคิดว่าพืชผักชนิดต่างๆมีการขยายพันธุ์เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?
เครื่องมือคิด
Brainstorms :
ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเจริญเติบโตและการขยายพันธุ์ผักผลไม้
Think  Pair Share การเจริญเติบโต/ขยายพันธุ์
Wall  Thinking : ใบงานพิมพ์ภาพสีน้ำ
Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- นิทาน เรื่อง หัวผักกาดยักษ์
- นิทาน เรื่อง แครอทยักษ์ของบิลลี่
- คลิปวีดีโอเรื่อง เมล็ดจะงอกไหม
- ละครเรื่อง เมล็ดน้อย
- ครูทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูร่วมกันแล่นละครเรื่อง เมล็ดน้อย
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม นักเรียนสังเกตเห็นอะไร ถ้าเราเป็นเมล็ดน้อยจะทำอย่างไร?
- ครูเล่านิทานเรื่อง หัวผักกาดยักษ์ เพื่อให้นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของพืชผักต่างๆ
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม นักเรียนคิดว่าพืชผักมีการเจริญเติบโตได้อย่างไร?”
- ครูเล่านิทานเรื่อง แครอทยักษ์ของบิลลี่
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม เราจะมีวิธีการขยายพันธุ์พืชผักต่างๆด้วยวิธีใดบ้าง?”
- ครูให้นักเรียนดูคลิปวีดีโอเรื่อง เมล็ดจะงอกไหม
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม นักเรียนสังเกตเห็นอะไรและรู้สึกอย่างไร?” “นักเรียนคิดว่าพืชผักชนิดต่างๆมีการขยายพันธุ์เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?”
ชิ้นงาน
- ประดิษฐ์ที่คั่นหนังสือเป็นรูปผักผลไม้ชนิดต่างๆ
- ปั้นดินน้ำมันการเจริญเติบโตของพืช
-ใบงานพิมพ์ภาพจากผัก
ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดูคลิปวีดีโอสิ่งทีได้ฟังจากนิทาน
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยว
กับการขยายพันธุ์ผัก
ความรู้ :
เข้าใจและสามารถอธิบายการเจริญเติบโตและการขยายพันธุ์ผักแบบง่าย และนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- การเลือกใช้เครื่องมือในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- สามารถปฏิบัติกิจกวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด
 - การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดูคลิป รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
การคิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม
- การคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้
อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการสังเกต
สังเกตการเจริญเติบโตและการขยายพันธุ์ของพืชผักชนิดต่างๆ
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครู
ผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
-   - ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
6
8-12 .. 57

โจทย์ :
การดูแลรักษา
Key  Questions
- ทำไมเราต้องปลูกผัก?
- เราจะมีวิธีการดูแลพืชผักชนิดต่างๆได้อย่างไร?
เครื่องมือคิด
Brainstorms :
ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการดูแลพืชผักชนิดต่างๆ
Think  Pair Share การดูแลรักษา
Wall  Thinking : ใบงานเขียน web การดูแลรักษาพืช
 Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- นิทานเรื่อง ต้นไม้ในป่าใหญ่
- นิทานเรื่อง เอ็มไอ ไดโน ตอน เพลงถั่วลันเตา

- เกม ดูแลหนูหน่อย
- ครูทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูนำต้นไม้ที่มาให้นักเรียนสังเกต ต้นที่ 1เป็นต้นไม้ที่ได้รับการดูแลทุกๆวัน ต้นที่ 2 เป็นต้นไม้ที่ไม่ได้รับการดูแลเลย

- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม ทำไมต้นไม่ทั้งสองต้นนี้ถึงต่างกัน แล้วเราจะทำอย่างไร?”
 - ครูเล่านิทานเรื่อง เอ็มไอ ไดโน ตอน เพลงถั่วลันเตา เพื่อให้นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับการดูพืชผักชนิดต่างๆ
- ครูกระตุ้นด้วยคำถามทำไมเราต้องดูแลรักษาผักชนิดต่างๆ?”
- ครูเล่านิทานเรื่อง ต้นไม้ในป่าใหญ่  เพื่อให้นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม ทำไมเราต้องปลูกพืช ผักต่างๆ?”
- ครูและนักเรียนร่วมกันเล่นเกม ดูแลหนูหน่อย
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม นักเรียนคิดว่าผักต่างๆกับคนมีวิธีการดูแลเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?
ชิ้นงาน
-ใบงานเขียน web การดูแลรักษาพืช
- กระถางปลูกต้นไม้จากเปลือกหอย
ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยว กับกิจกรรมที่ได้ทำจากเกม
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการดูแลรักษาพืชผักผลไม้ชนิดต่างๆ
ความรู้ :
เข้าใจเกี่ยวกับการดูแลรักษาพืชผักชนิดต่างๆตลอดจนมีจิตสำนึกที่ดีในการอนุรักษ์ธรรมชาติได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- การเลือกใช้เครื่องมือในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- สามารถปฏิบัติกิจกวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด
- การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการฟังนิทาน รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
การคิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม
- การคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
 ทักษะการสังเกต
สังเกตการพืชผักต่างๆที่ได้รับการดูแลและที่ไม่ได้รับการดูแลเลย
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้

- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน 

7
15-19 .. 57
โจทย์ :
ประโยชน์และโทษ
Key  Questions
- ทำไมเราต้องกินผัก?
- ผักแต่ละชนิดมีคุณค่าสารอาหารที่เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
เครื่องมือคิด
Brainstorms :ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์และโทษของผักชนิดต่างๆ
Think  Pair Share : ประโยชน์และโทษของผักต่างๆ
Blackboard  Share : การประอาหารเมนู “ผักชุบแป้งทอด”
Wall  Thinking :โมบายเปลือกหอย
Show and Share :นำเสนอชิ้นงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู                                      
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- นิทานเรื่อง กุ๋งกิ๋งท้องผูก
- ครูทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูให้นักเรียนดูคลิปวีดีโอเรื่อง “บุญโต ตอนหมูพลังผัก”
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม นักเรียนสังเกตเห็นอะไรและรู้สึกอย่างไร?“ถ้าเป็นเราจะทำอย่างไร?
- ครูเล่านิทานเรื่อง กุ๋งกิ๋งท้องผูก เพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์ของผัก
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม ทำไมเราต้องกินผัก?”
- ครูให้นักเรียนจัดเตรียมอุปกรณ์ในการทำอาหารเมนู “ผักชุบแป้งทอด”
- นักเรียนร่วมกันจัดเตรียมอุปกรณ์การทำอาหาร
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนคิดว่า ผักชุบแป้งทอดมีวิธีการทำอย่างไร?
- ครูเล่านิทานเรื่อง ดุ๋งดิ๋ง ดื้อดึง
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม ผักแต่ละชนิด มีคุณค่าทางสารอาหารเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?”
- ครูและนักเรียนร่วมกันร้องเพลง ผักแสนอร่อย พร้อมทำท่าทางประกอบ

- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนคิดว่าผัก ผลไม้มีความสำคัญกับเราอย่างไร?
ชิ้นงาน
- ปั้นดินน้ำมันผักผลไม้ที่ชอบทาน
- ประกอบอาหารเมนู “ผักชุบแป้งทอด”
-โมบายเปลือกหอย
- ปะติดภาพผัก ผลไม้
- นิทาน ป๊อปอัพ
ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยว กับกิจกรรมที่ได้ทำประกอบอาหาร เมนู “ผักชุบแป้งทอด”

- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์/โทษของผักชนิดต่างๆ 
ความรู้ :
เข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับประโยชน์และโทษของผักชนิดต่างๆและสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- การเลือกใช้เครื่องมือในการสร้างสรรค์ชิ้นงานและการประกอบอาหารจากผัก ผลไม้ได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- สามารถปฏิบัติกิจกวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด
- การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดูคลิปวีดีโอ นิทาน รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-  การคิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม
- การคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครู
ผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน

-   - ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
8
22-26.. 57
โจทย์ :
- ความสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตอื่น
- สรุปองค์ความรู้
Key  Questions
- ถ้าบนโลกไม่มีต้นไม้จะเกิดอะไรขึ้นและเราจะทำอย่างไร?
- ทำไมถึงเกิดภาวะโลกร้อนแล้วเราจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร?
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับ หน่วย ผักจ๋าน่าชิม?
เครื่องมือคิด
Brainstorms :ร่วมระดมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของผักกับสิ่งมีชีวิตอื่น
- ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ หน่วย ผักจ๋าน่าชิม
Blackboard  Share : ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับของผักกับสิ่งมีชีวิตอื่น
Think  Pair Share :การเกิดภาวะโลกร้อน
Round Rubin  :การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกิจกรรมที่ได้เรียนรู้ผ่านมา
- ครูทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูเล่านิทานเรื่อง ฉันชอบปลูกต้นไม้ เพื่อให้นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตต่างๆ เช่น คน พืช สัตว์
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม ถ้าบนโลกไม่มีต้นไม้แล้วจะเกิดอะไรขึ้นและเราจะทำอย่างไร?
- ครูเล่านิทานเรื่อง เทวดากับคนตัดต้นไม้ เพื่อให้นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม นักเรียนคิดว่าทำไมเราต้องตัดต้นไม้?
- ครูให้นักเรียนดูคลิปวีดีโอ โลกสวยด้วยมือเรา” นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง รู้สึกอย่างไร?
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม ทำไมถึงเกิดภาวะโลกร้อนแล้วเราจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร?

ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด  “ นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างใน Quarter นี้?”
ชิ้นงาน
- ใบงานเขียน webความสัมพันธ์ของพืชกับสิ่งมีชีวิตอื่น
- ใบงานเขียน web สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยว กับกิจกรรมที่ได้ทำ
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของผักกับ
 สิ่งมีชีวิตอื่น
- การตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับ
หน่วย ผักจ๋าน่าชิมให้ผู้อื่นเข้าใจ
ความรู้ :
เข้าใจและสามารถอธิบายความเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของพืชผักกับสิ่งมีชีวิตอื่นตลอดจนสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- การเลือกใช้เครื่องมือในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- สามารถปฏิบัติกิจกวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด
- การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดูคลิปและฟังนิทาน รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-  การคิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม
- การคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้
อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครู
ผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน

-   - ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน


ตารางวิเคราะห์ความสัมพันธ์มาตรฐานการเรียนรู้กับพัฒนาการ
หน่วยผักจ๋า...น่าชิม ระดับชั้นอนุบาลประจำ Quarter 3  ปีการศึกษา  2/2557

สาระการเรียนรู้
พัฒนาการ
มาตรฐาน/ตัวบ่งชี้
สาระ
1.สร้างแรงบันดาลใจและการสร้างฉันทะการเรียนรู้
  - เลือกเรื่องที่อยากเรียนรู้
  - ตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้
 - สิ่งที่รู้แล้ว สิ่งที่อยากเรียนรู้
2.ลักษณะโครงสร้าง/หน้าที่
3.ประเภท/สายพันธุ์
4.การเจริญเติบโต/การขยายพันธุ์
5.การดูแลรักษา
6.ประโยชน์/โทษ
7.ความสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตอื่น
8.การสรุปองค์ความรู้

ด้านร่างกาย
    ผู้เรียนมีทักษะในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่-เล็กในการเคลื่อนไหวร่างกาย  ประดิษฐ์ชิ้นงาน  ได้แก่  
ขีดเขียน  วาดภาพบุคคลระบายสีไม้สีเทียนเล่นกับสีน้ำ   เช่น เป่าสี  พับสีปั้นดินน้ำมันฉีก- ปะ กระดาษเป็นรูปครอบครัวและสิ่งมีชีวิตอื่นต่อเติมภาพตามจินตนาการประดิษฐ์สิ่งมีชีวิตจากเศษวัสดุต่างๆประกอบอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ  ของร่างกาย การแสดงบทบาทสมมติ/จินตนาการผ่านท่าทางและสีหน้า

พัฒนาการทางด้านร่างกาย
มาตรฐานที่ 1  ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี
ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์
ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 มีสุขภาพอนามัย  สุขนิสัยที่ดี  และรู้จักรักษาความปลอดภัย
มาตรฐานที่ 2 กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรงใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน
ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 เคลื่อนไหวร่างกายคล่องแคล่วและทรงตัวได้
ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 เล่นและออกกำลังกาย
ตัวบ่งชี้ที่ 2.3  .ใช้มือได้อย่างคล่องแล้วและประสานสัมพันธ์กัน
ด้านอารมณ์และจิตใจ
     ผู้เรียนมีวินัย  ความรับผิดชอบ  ปฏิบัติตนตามข้อตกลงร่วมกัน  ทำงานจนสำเร็จ  และแสดงความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง  ได้แก่  การShow and Shareผลงานในแต่ละสัปดาห์  การทำใบงานให้เสร็จตามเวลาที่กำหนด  การเก็บของใช้เข้าที่หลังจากทำใบงานหรือประดิษฐ์ชิ้นงาน
 -  ผู้เรียนช่วยเหลืองานเต็มความสามารถด้วยความ
เต็มใจ  เช่น  การจัดเก็บอุปกรณ์ เก็บกวาดห้องเรียน อาสาแจกใบงาน/อุปกรณ์ให้เพื่อน
 -  ผู้เรียนมีมารยาทและปฏิบัติตามวัฒนธรรมไทย ได้แก่  มีมารยาทในการพูดเมื่อต้องการพูดจะยกมือก่อนพูดทุกครั้ง 
สนใจฟังเมื่อมีผู้อื่นพูด  มีมารยาทในการรับประทานอาหาร  ไหว้ขอบคุณเมื่อรับสิ่งของจากผู้อื่นทุกครั้ง
-  ผู้เรียนมีจิตสำนึกในการรักษาความสะอาดด้วยการนำเศษวัสดุจากการประดิษฐ์ชิ้นงานทิ้งลงถังขยะอย่างถูกที่
    -  ผู้เรียนมีความสนใจงานด้านศิลปะโดยเข้าร่วมกิจกรรมด้านศิลปะอย่างมีความสุข ได้แก่  การสร้างงานศิลปะด้วยความเต็มใจ  การแสดงความชื่นชมและภาคภูมิใจในผลงานศิลปะ

พัฒนาการทางด้านอารมณ์  จิตใจ
มาตรฐานที่ 3  มีสุขภาพจิตดี  และมีความสุข
ตัวบ่งชี้ที่  3.1  แสดงออกทางอารมณ์อย่างเหมาะสมกับวัยและสถานการณ์
ตัวบ่งชี้ที่  3.2  มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น
ตัวบ่งชี้ที่  3.3  มีความเห็นอก เห็นใจผู้อื่น
มาตรฐานที่  4  ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ  ดนตรี  และการเคลื่อนไหว
ตัวบ่งชี้ที่  4.1  สนใจและมีความสุขกับศิลปะ ดนตรี  และการเคลื่อนไหว
ตัวบ่งชี้ที่  4.2  แสดงออกทางด้านศิลปะ  ดนตรี  และการเคลื่อนไหวตามจินตนาการ
มาตรฐานที่  5  มีคุณธรรม  จริยธรรม  และมีจิตใจที่ดีงาม
ตัวบ่งชี้ที่  5.1  มีความรับผิดชอบ
ตัวบ่งชี้ที่  5.2  ซื่อสัตย์สุจริตและรู้ถูกรู้ผิด
ตัวบ่งชี้ที่  5.3  มีความเมตตากรุณา  มีน้ำใจและ
ช่วยเหลือแบ่งปัน
ตัวบ่งชี้ที่  5.4  ประหยัด อดออม  และพอเพียง
ด้านสังคม
    - ผู้เรียนสนใจเข้าร่วมกิจกรรม  เล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข 
   -  ผู้เรียนยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
   -  ผู้เรียนมีความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี  
   -  ผู้เรียนมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อครู  เพื่อนและผู้อื่น

พัฒนาการด้านสังคม 
มาตรฐานที่  6  มีทักษะในการดำเนินชีวิต
ตัวบ่งชี้ที่  6.1  มีวินัยในตนเอง
ตัวบ่งชี้ที่  6.2  ช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
ตัวบ่งชี้ที่  6.3  ระหวังภัยจากคนแปลกหน้าและสถานการณ์ที่เสี่ยงอันตราย
มาตรฐานที่ที่  7  รักธรรมชาติ  สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความเป็นไทย
ตัวบ่งชี้ที่  7.1  ดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ตัวบ่งชี้ที่  7.2  มีสัมมาคารวะและมารยาทตามวัฒนธรรมไทย
ตัวบ่งชี้ที่  7.3  รักความเป็นไทย
มาตรฐานที่  8  อยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ตัวบ่งชี้ที่  8.1  ยอมรับความเหมือนและความแตกต่างระหว่างบุคคล
ตัวบ่งชี้ที่  8.2  มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น
ตัวบ่งชี้ที่  8.3  ปฏิบัติตนเบื้องในการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม  ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ด้านสติปัญญา
    -  ผู้เรียนสามารถเรียงลำดับเหตุการณ์จากการฟังนิทานหรือเรื่องราวได้
    -  ผู้เรียนรู้จักตั้งคำถามเพื่อหาเหตุผลและมีความสนใจใฝ่รู้
    -  ผู้เรียนมีทักษะในการสื่อสาร สามารถถ่ายทอดเรื่องราว
เกี่ยวกับครอบครัว และสิ่งมีชีวิตอื่นจากประสบการณ์ที่ได้พบเห็นให้ผู้อื่นเข้าใจได้
    -  ผู้เรียนสนทนาโต้ตอบเป็นเรื่องราวกับผู้อื่นได้
    -  ผู้เรียนมีทักษะในการดูแลสุขภาพของตนเอง
    - ผู้เรียนสามารถนับ ตัก ตวงเครื่องปรุงอย่างง่ายๆในการประกอบอาหารได้

พัฒนาการด้านสติปัญญา    
มาตรฐานที่  9  ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย
ตัวบ่งชี้ที่  9.1  สนทนาโต้ตอบและเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจ
ตัวบ่งชี้ที่  9.2  อ่าน  เขียนภาพ และสัญลักษณ์ได้
มาจรฐานที่  10  มีความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้
ตัวบ่งชี้ที่  10.1  มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหา
ตัวบ่งชี้ที่  10.2  มีความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล
ตัวบ่งชี้ที่  10.3  มีความสามารถในการคิดรวบยอด
มาตรฐานที่  11  มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
ตัวบ่งชี้ที่  11.1  เล่น / ทำงานศิลปะตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง
ตัวบ่งชี้ที่  11.2  แสดงท่าทาง / เคลื่อนไหวตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง
มาตรฐานที่  12  มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้  และมีความสามารถในการแสวงหาความรู้ได้เหมาะสมกับวัย
ตัวบ่งชี้ที่  12.1  มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้
ตัวบ่งชี้ที่  12.2  มีความสามารถในการแสวงหาความรู้ 



Web เชื่อมโยงหน่วยผักจ๋า....น่าชิม”    กับพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
ด้านร่างกาย
กล้ามเนื้อมัดเล็ก
  -  ขีดเขียน  วาดภาพ               - ร้อยลูกปัด
  -  ระบายสีไม้ สีเทียน  ฝนสี    - เล่นทรายเปียก /      แห้ง
  -  ปั้นดินน้ำมัน ปั้นแป้งโดว์
  - ฉีก  ปะ ตัด ติด
  - ขยำกระดาษ         
  - ตัดกระดาษตามเส้น
  - พับกระดาษ         
  - ต่อเติมภาพตามจินตนาการ
  - ประดิษฐ์จากวัสดุธรรมชาติ / วัสดุเหลือใช้
  - ประกอบอาหาร  
  - เล่นกับสีน้ำ เช่น เป่าสี  พับสี ฉีดสี กลิ้งสี  พิมพ์สีฯลฯ
กล้ามเนื้อมัดใหญ่
- เล่นเครื่องเล่นสนาม
-  เล่นกีฬา  เกมการละเล่น  เช่น  การโยน-รับลูกบอล  กลิ้งบอล การเดาะลูกบอล
-  การเคลื่อนไหวร่างกาย  เช่น  เคลื่อนไหวประกอบเพลง  ประกอบคำบรรยาย  เป็นต้น
-  กระโดดขาเดียว  กระโดดสองขา ก้าวกระโดด
-  การประดิษฐ์ชิ้นงาน  หรือการทดลอง
-  การเดิน  การวิ่ง  การกระโดด คลาน
-  การดึง  การดัน  การจับ  การขว้าง  การเตะ เคาะจังหวะ ตบมือ ผงกศีรษะ ขยิบตา
-  การเลียนแบบท่าทางสัตว์ต่างๆ  เช่น เสียง ลักษณะอาการ
ความสัมพันธ์มือ-ตา
-  การขีดเขียน   การวาดตามแบบ
-  การร้อยลูกปัด  ร้อยมาลัยดอกไม้
-  การต่อบล็อก ต่อเรโก้
-  การระบายสีไม้ สีน้ำ
-  การตัดกระดาษ
-  การหยิบจับสิ่งของ
-  การเล่นเกม  กีฬา  เช่น  การรับ-การโยน
-  การช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำวัน เช่น  การรับประทานอาหาร  การแต่งกาย  การสวมใส่เสื้อผ้ารองเท้า  ถุงเท้า  เป็นต้น
-  การเล่นเครื่องเล่นสัมผัส
ด้านอารมณ์-จิตใจ,  ด้านสังคม
-  การร้องเพลง  การท่องคำคล้องจอง  การทำท่าทางประกอบตามจังหวะดนตรี /คำบรรยาย
-  การฟังนิทาน  การเล่านิทาน การแต่งประโยค การพูดถ่ายทอดเรื่องราว
-  การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ เช่น  เล่นกับเพื่อน  เล่นกับครู  เล่นเครื่องเล่น เช่น กระบอกไม้ไผ่ เครื่องเคาะจังหวะ เครื่องตี  ฯลฯ
-  การเล่นมุมบล็อก  การเล่นมุมบทบาทสมมติ  การเก็บของเล่น
-  การแบ่งปัน   การรอคอยตามลำดับก่อน หลัง   
-  การบอกความรู้สึก  ความต้องการ การรับรู้อารมณ์ ความรู้สึกของผู้อื่น
-  การช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน เช่น การรับประทานอาหาร  การแต่งกาย  การสวมใส่เสื้อผ้ารองเท้า  ถุงเท้า การอาบน้ำ แปรงฟัน เป็นต้น
-  การรู้บทบาทหน้าที่
- การเป็นผู้นำ – ผู้ตามที่ดี การยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
-  ฯลฯ
ด้านสติปัญญา
- การรับรู้และเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว เช่น ฤดูกาล กลางวัน กลางคืน ธรรมชาติ
-  การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง  ในการเคลื่อนไหวและการเรียนรู้สิ่งต่างๆ  รอบตัว
-  การใช้ภาษาสื่อความหมาย  และความคิด เช่น การพูด แสดงท่าทางประกอบ
-  การรู้จักสังเกตคุณลักษณะต่างๆ เช่น  สี  ขนาด  รูปร่าง  รูปทรง น้ำหนัก  กลิ่น แบบรูปความสัมพันธ์ การจำแนก การจัดกลุ่ม การเปรียบเทียบ เรียงลำดับ ฯลฯ
-  การจดจำชื่อ รูปร่างลักษณะ ความเหมือน ความแตกต่างของสิ่งต่างๆ รอบตัว
-  การฝึกใช้อวัยวะรับสัมผัสต่างๆ  ได้แก่  ตาดู หูฟัง จมูกดมกลิ่น  ลิ้นชิมรส และกายสัมผัส
-  การสนทนาถาม-ตอบ จากสิ่งที่ได้ฟัง ได้ดูและปฏิบัติ เช่น นิทาน เรื่องเล่า ดูคลิปวีดีโอ เพลง คำคล้องจอง  เกมการศึกษา ฯลฯ
-  การอธิบายให้เหตุผล การแก้ปัญหา การนำเสนอสิ่งที่ทำหรือคิด
- การสื่อความหมายของมิติสัมพันธ์ เช่น ภาพวาด ภาพถ่าย ฯลฯ
-  การทดลอง เช่น การตั้งคำถาม การสังเกต การให้เหตุผล การสรุป ฯลฯ

 Web เชื่อมโยงหน่วย “ ผักจ๋า...น่าชิม ” กับ 4 สาระพื้นฐาน

ภาษาไทย
คณิตศาสตร์
ภาษาอังกฤษ
วิทยาศาสตร์
การฟัง
-  ฟังนิทาน
-  ฟังเพลงและเคลื่อนไหวทำท่าทางประกอบ
-  ฟังและปฏิบัติตามคำสั่ง/ข้อตกลง
-  ฟังและตอบคำถาม
-  การเป็นผู้ฟังที่ดี
-  การฟังและจำแนกเสียง  เช่น  เสียงสัตว์
การพูด 
-  บอกความต้องการ/ความรู้สึก
-  สนทนาถาม-ตอบ
-  อธิบายสิ่งที่เข้าใจ
-  ร้องเพลง  คำคล้องจอง
-  แนะนำ/บอกชื่อของสิ่งต่างๆ
-  เล่าหรือถ่ายทอดเรื่องราว เหตุการณ์ที่ได้ฟัง  ได้เห็น  หรือประสบจริง
-  แต่งประโยคจำคำ / ภาพ
-  เล่าเรื่องตามภาพ
การอ่าน
- อ่านตามภาพ
-  อ่านท่าที  ท่าทาง  สีหน้า  ลักษณะต่างๆ
-  การอ่านคำตามภาพ / สัญลักษณ์
-  อ่านตามตัวอย่าง
-  การสะกดคำง่ายๆ  เช่น   แม่ ก กา
การเขียน
-  เขียนตามตัวอย่าง
-  เขียนตามจินตนาการ
-  การเขียนชื่อตนเอง ฯลฯ
การสังเกต  การจำแนก  การเปรียบเทียบ
-  การจำแนกความเหมือนความต่าง  มากกว่า น้อยกว่า เท่ากับ
-  การจัดหมวดหมู่ เช่น รูปร่าง รูปทรง ขนาด สี น้ำหนัก
-  การเรียงลำดับสิ่งต่างๆ
ด้านตัวเลขและจำนวน
-  การนับจำนวน  ลำดับจำนวน  สัญลักษณ์แทนจำนวน
-  การรู้ค่าจำนวน
-  การดำเนินการเกี่ยวกับจำนวน
ด้านมิติสัมพันธ์
-  เข้าใจตำแหน่งที่สัมพันธ์กัน
-  เข้าใจระยะ เช่น ใกล้ ไกล ตรงข้าม ระหว่าง
-  การเข้าใจทิศทาง เช่น ซ้าย ขวา หน้า หลัง
-  การต่อชิ้นส่วนภาพ
ทักษะทางด้านเวลา
-  การเปรียบเทียบในเรื่องเวลา
-  การลำดับเหตุการณ์ที่สัมพันธ์กัน
-  ฤดูกาล
ทักษะการคิด
-  การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง  5
-  การคิดเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ
-  ความคิดสร้างสรรค์
-  การคิดแก้ปัญหา
ทักษะการใช้ภาษา / การสื่อสาร
-  การฟัง
-  การพูด
-  การอ่าน
-  การเขียน
- ท่าทาง  สีหน้า  อารมณ์
การฟัง
-  ฟังคำสั่งเข้าใจ  ปฏิบัติตามได้  เช่น Sit down , Stan   up  เป็นต้น
-  ฟัง  เข้าใจความหมาย  สนทนาโต้ตอบได้  เช่น What  you  name ?  My name  is……..  What  is  this ? It’s a…….
What do  like ?  I  like  ……………
-  ร้องเพลง  เข้าใจความหมาย
การพูด
-  พูดสนทนาโต้ตอบ
-  บอกคำศัพท์เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รอบตัว เช่น  เกี่ยวกับอวัยวะ  เกี่ยวกับสิ่งของเครื่องใช้  เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต / ไม่มีชีวิต ฯลฯ
การอ่าน
-  อ่านคำศัพท์จากภาพ
-  อ่านตามตัวอย่าง
- อ่าน A-Z
การเขียน
-  เขียน  A-Z
-  เขียนชื่อตัวเอง
-  เขียนคำตามตัวอย่าง
- เขียนประโยคตามตัวอย่าง
ทักษะการสังเกต
- ใช้ประสาทสัมผัส ทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้ม กายสัมผัส
- เปรียบเทียบความเหมือนความต่างของสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต
- เรียงลำดับเหตุการณ์ก่อนหลังของสิ่งต่างๆ
- จัดกลุ่มได้ตามเกณฑ์ง่ายๆ ที่กำหนดขึ้นเอง เช่น สี รูปร่าง รูปทรง ขนาด น้ำหนัก
ทักษะการตั้งคำถาม
ตั้งคำถามจากสิ่งที่สังเกตหรือสงสัยได้อย่างสมเหตุสมผล
ทักษะการคาดเดาเหตุการณ์
คาดเดาคำตอบและคาดเดาได้อย่างสมเหตุผล มีความเป็นไปได้  ตามลำดับขั้นตอน
ทักษะการทดลอง        
- เลือกใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์อย่างง่ายได้อย่างเหมาะสม
- ทดลองตามลำดับขั้นตอน
ทักษะการแก้ปัญหา
คิดวิเคราะห์สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม
ทักษะเก็บข้อมูล
วาดภาพสรุปขั้นตอนการทดลองตามความเข้าใจของตนเองและอธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจ
ทักษะการสรุปผล
- พูดสนทนาโต้ตอบ / นำเสนอผ่านภาพเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้

ตารางวิเคราะห์เชื่อมโยงหน่วยสาระที่ควรเรียนรู้
ตัวเรา
เด็กควรรู้จักชื่อ  นามสกุล  รูปร่าง  หน้าตา  รู้จักอวัยวะต่างๆ วิธีระวังรักษาร่างกายให้สะอาด  ปลอดภัย  การรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ  เรียนรู้ที่จะเล่นและทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเองคนเดียว  หรือกับผู้อื่น  ตลอดจนเรียนรู้ที่จะแสดงความคิดเห็น  ความรู้สึก  และมารยาทที่ดี
หน่วยสาระ
1.หน่วยร่างกาย
2. หน่วยเด็กดี
3. หน่วยประสาทสัมผัสทั้ง 5
4. หน่วยเนื้อ  นม  ไข่
5. หน่วยอาหาร
7. หน่วยตาวิเศษ
8. หน่วยใครเอ่ย
9 .หน่วย ฟ.ฟัน
10. หน่วยฤดูกาล
11. หน่วยน้ำหนัก
12. หน่วยพืช
13. หน่วยหนูทำได้
14.หน่วยวันสำคัญ เช่น วันเข้าพรรษา วันแม่ ฯลฯ
บุคคลและสถานที่
เด็กควรมีโอกาสได้รู้จักและรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัว  สถานศึกษา  ชุมชน  รวมทั้งบุคคลต่างๆ ที่เด็กต้องเกี่ยวข้องหรือมีโอกาสได้ใกล้ชิดและมีปฏิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน


หน่วยสาระ
1.  หน่วยครอบครัว
2.  หน่วยโรงเรียน
3.  หน่วยชุมชน
4.  หน่วยบุคคลสำคัญ
5.  หน่วยเมืองไทย
6.  หน่วยวันสำคัญ  เช่น  วันพ่อ  วันแม่  วันครู  วันเด็ก ฯลฯ
7. หน่วยเพื่อนบ้าน
8. หน่วยอาชีพ
9. หน่วยอาเซียน
10. หน่วยท่องเที่ยว
11. หน่วยนิทาน
12. หน่วยบ้านของเรา
13.หน่วยนักประดิษฐ์
ธรรมชาติรอบตัว
เด็กควรได้เรียนรู้สิ่งมีชีวิต  สิ่งไม่มีชีวิต  รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ  เช่น  ฤดูกาล  กลางวัน  กลางคืน  ฯลฯ



หน่วยสาระ
1.  หน่วยสัตว์
2.  หน่วยผีเสื้อ
3.  หน่วยน้ำ
4.  หน่วยพืช  ผัก  ผลไม้
5.  หน่วยดอกไม้
6.  หน่วยแมลง
7.  หน่วยกลางวัน  กลางคืน
8.  หน่วยโลกสวยด้วยมือเรา
9.  หน่วยฤดูกาล
10.  หน่วยไผ่
11. หน่วยเนื้อ  นม  ไข่
12. หน่วยอาหาร
13.หน่วยรุ้งกินน้ำ
สิ่งต่างๆ รอบตัว
เด็กควรได้รู้จักสี  ขนาด  รูปร่าง  รูปทรง  น้ำหนัก  ผิวสัมผัสของสิ่งต่างๆ รอบตัว  สิ่งของเครื่องใช้  ยานพาหนะ  และการสื่อสารต่างๆ ที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน



หน่วยสาระ
1.  หน่วยการคมนาคม
2.  หน่วยการสื่อสาร
3.  หน่วยพลังงาน
4.  หน่วยวิทยาศาสตร์
5.  หน่วยคณิตศาสตร์
6.  หน่วยเครื่องมือเครื่องจักร
7.  หน่วยปลอดภัยไว้ก่อน
8.  หน่วยของเล่น  ของใช้
9. หน่วยอากาศ
10. หน่วยกลางวัน  กลางคืน
11. หน่วยขยะ
12. หน่วยฤดูกาล
13. หน่วยนักประดิษฐ์
14. หน่วยนิทาน